วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

การแสดงพื้นบ้านภาคเหนือ


























 


         อาณาบริเวณทางภาคเหนือของไทย ที่เรียกว่า ล้านนานั้น ประกอบด้วยจังหวัดต่าง ๆ ๘ จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่านและแม่ฮ่องสอน เคยมีประวัติอันซับซ้อนและยาวนานเทียบได้กับสมัยสุโขทัย เคยมีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้พระยากาวิละ ซึ่งเป็นผู้ครองเมืองลำปางขึ้นไปปกครองเชียงใหม่ อันถือว่าเป็นศูนย์กลางทั้งด้านปกครอง การเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม การแสดงพื้นบ้านของภาคเหนือมีความเด่นอยู่ในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเองอย่างสมบูรณ์ แม้ว่าเคยอยู่ในอำนาจของรัฐอื่น ๆ มาบางระยะบ้าง ก็มิได้ทำให้รูปแบบของการแสดงต่าง ๆ เหล่านั้นเสื่อมคลายลง ส่วนที่ได้รับอิทธิพลก็มีอยู่บ้าง แต่ก็ได้รับการประยุกต์ให้เขารูปแบบของล้านนาดั้งเดิมอย่างน่าชมเชยมาก แสดงว่าสามารถรักษาเอกลักษณ์ไว้ได้อย่างสมบูรณ์

การฟ้อนรำ
        ศิลปะแห่งการฟ้อนรำของไทยภาคเหนือ มีแบบอย่างดั้งเดิมที่รักษากันไว้แบบหนึ่ง กับแบบอย่างที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ ตลอดจนแบบอย่างสร้างขึ้นแต่มีพื้นฐานดั้งเดิมอยู่ในตัว ซึ่งถ้าจะแยก ให้ชัดเจนก็จะได้ดังนี้
        การฟ้อนรำแบบดั้งเดิม แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๓ ประเภท คือ ฟ้อนเมือง ฟ้อนม่าน และฟ้อนเงี้ยวดังต่อไปนี้
        . ฟ้อนเมือง หมายถึงการฟ้อนรำแบบพื้นเมือง เป็นการฟ้อนรำที่มีแบบอย่างถ่ายทอดสืบ ต่อกันมานานอันประกอบด้วยการฟ้อนรำ ดนตรี และการขับร้อง ซึ่งฟ้อนบางอย่างก็มีแต่ดนตรีกับฟ้อนแต่ไม่มีการขับร้องอาจจำแนกได้หลายชนิด
          ฟ้อนเล็บแบบดั้งเดิม ผู้แสดงเป็นหญิงทั้งหมด ใช้ดนตรีประกอบคือ วงติ่งโนง ประกอบด้วยกลองแอว (กลองติ่งโนง) หรือกลองหลวง กลองตะโล้ดโป้ด ปี่แนน้อย ปี่แนหลวง ฉาบ ฆ้อง ฟ้อนเล็บนี้ภายหลังได้รับการปรับปรุงใหม่ ทำให้ลีลาการฟ้อนรำแตกต่างออกไปจากเดิมบ้าง

          ฟ้อนดาบ  มีกระบวนท่ารำ ๓๒ ท่านับเป็นแบบของล้านนาโดยเฉพาะ ผู้แสดงเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงก็ได้ ใช้วงปูเจ่เป็นวงดนตรีประกอบ มีกลองปูเจ่หรือกลองกันยาว ฉาบ ฆ้องชุด (๓ หรือ ๗ ลูก) เป็นการรำดาบที่สวยงามมาก
          ฟ้อนเจิง เป็นการฟ้อนด้วยมือเปล่า ใช้ดนตรีเช่นเดียวกับฟ้อนดาบ ผู้แสดงเป็นผู้ชายมีท่าต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า ๓๐ ท่า ซึ่งมีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาตลอด และยังรักษาแบบอย่างอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน
           ฟ้อนผีมด เป็นลักษณะการร่ายรำของคนเข้าทรง เช่นเดียวกับการทรงหรือเข้าแม่ศรีของภาคกลางใช้วงดนตรีป๊าด คือ วงปี่พาทย์นั่นเอง แต่ใช้เพลงที่ออกทำนองมอญหรือพม่า เป็นการฟ้อนร่วมกันระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง สำหรับพิธีการต่าง ๆ
           ฟ้อนแง้น เป็นที่นิยมอยู่ในแถบจังหวัดแพร่ น่าน เชียงราย พะเยา ประกอบการบรรเลงดนตรีสะล้อซึงและปี่ เมื่อซอสิ้นคำลงและปี่เป่ารับตอนท้ายก็ฟ้อนรำ ฟ้อนได้ทั้งหญิงและชาย ฯลฯ
        . ฟ้อนม่าน หมายถึงการฟ้อนรำตามแบบอย่างของพม่าหรือมอญ คงจะเป็นด้วยเมื่อครั้งเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นของพม่า จึงมีการถ่ายทอดแบบอย่างการฟ้อนรำ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ
            รำม่านหรือฟ้อนพม่า เป็นการรำตามแบบแผนของพม่า โดยการยกแขยแอ่นตัวยืดขึ้นสูง แล้วทิ้งตัวลงต่ำทันที จึงดูคล้ายการเต้นช้า ๆ แต่อ่อนช้อย มีทั้งที่รำเดี่ยวและรำหมู่ ตลอดจนรำเป็นคู่หญิงชาย แต่ค่อนข้างหาดูได้ยาก ทั้งท่ารำก็ไม่ค่อยมีแบบแผนมากนัก ดนตรีประกอบใช้ดนตรีพื้นเมืองที่ออกสำเนียงพม่าหรือมอญ
            ฟ้อนผีเม็ง เป็นการฟ้อนรำโดยการเข้าทรงเช่นเดียวกับฟ้อนผีมด นิยมเล่นในงานสงกรานต์ตามแบบแผนของชาวรามัญ (มอญ) ซึ่งเคยอาศัยอยู่ในดินแดนล้านนาส่วนหนึ่งหลังจากอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและพม่าเคยกวาดต้อนเอาเข้ามาอยู่ตามหัวเมืองเหนือ ในการฟ้อนนี้จะตั้งเตาไฟและหม้อดินบรรจุปลาร้าไว้ตรงหน้าโรงพิธีซึ่งปลูกแบบเพิงง่าย ๆ การฟ้อนเริ่มด้วยการที่ผู้เข้าผีเริ่มขยับร่างกาย
        
       ๓. ฟ้อนเงี้ยว ความจริงแล้ว ฟ้อนเงี้ยวเป็นการฟ้อนตามแบบแผนของชาวไตหรือไทยใหญ่ การฟ้อนของชาวไตมีหลายแบบ ส่วนใหญ่แล้วมักใช้กลองก้นยาว ฉาบ และฆ้อง เท่านั้น มีอยู่บ้างที่ใช้ดนตรีอื่น คือ ฟ้อนไต
          
           ฟ้อนเงี้ยวแบบดั้งเดิม เป็นการฟ้อนรำของผู้ชายฝ่ายเดียว ไม่มีผู้หญิงปนเหมือนที่มีการประยุกต์ขึ้นใหม่ ตามแบบดั้งเดิมนั้นไม่กำหนดท่ารำที่แน่นอน แต่จะออกท่ารำ   ต่าง ๆ ผสมการตลกคะนองไปด้วยในตัว ไม่ลง มง แซะ มง …” แต่จะออกทำนองกลองก้นยาว คือ บอง บอง บอง เบอง เทิ่ง บองการแต่งกายก็แต่งแบบชาวไตมีการพันศรีษะด้วยผ้าขาวม้า
           ฟ้อนกินราหรือกิงกะหลา แบบเดิมเป็นอย่างไรไม่อาจระบุชัดได้ เพราะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงออกไปต่าง ๆ แม้การแต่งกายก็เช่นเดียวกัน เดิมนั้นเป็นการรำเลียนแบบนก มีการรำคู่กัน เกี้ยวพาราสีกัน หรือหยอกล้อเล่นหัวกัน ดนตรีที่ใช้ประกอบการรำก็คือกลองก้นยาว ฉาบ ฆ้อง ไม่มีการร้อง
            ฟ้อนกำเปอหรือกำเบ้อ กำเบ้อคงแต่งกายด้วยปีกหางอย่างนกหรือผีเสื้อ มีสีต่าง ๆ สวยงาม แต่ถ้าเป็นการแสดงทั่วไปก็ไม่มีการแต่งกายอย่างนั้น เพียงแต่แบบแผนท่ารำค่อนข้างไปทางธรรมชาติมากเท่านั้นดังนั้นชาวบ้านก็อาจฟ้อนรำได้
            ฟ้อนโต เป็นการฟ้อนในรูปของสัตย์ เช่น มังกร กิเลน หรือสิงโต แต่งกายตามแบบของสัตว์นั้น ๆ บางแห่งเป็นกวางหรือฟาน มีการเต้นตามจังหวะดนตรี กลิ้งตัวไปมา หรือเดินอวดร่างกาย อาจมีหลายคน หรือเป็นคู่ หรือแสดงเดี่ยว ทำให้นึกถึงการแสดงของจีนที่ทำเป็นร่างของสิงโต ใช้คนแสดง ๒ คน เป็นขาคู่หน้า ๑ คน เป็นขาคู่หลัง ๑ คน ต้องเต้นให้รู้ท่าทางจังหวะกันอย่างคล่องแคล่ว
             ฟ้อนดาบ แตกต่างไปจากฟ้อนดาบแบบล้านนา เพราะมีความรวดเร็ว คล่องตัวมากกว่าเกือบจะไม่ห่วงเรื่องจังหวะดนตรีเลย กลายเป็นว่าดนตรีต้องช้าเร็ว ตามผู้ฟ้อนรำ ดาบที่ใช้รำนั้นยาวมาก แต่เมื่อฟาดเข้าหาตัวแล้ว การงอตัวหลบปลายดาบเป็นที่น่าหวาดเสียวมาก ท่ารำเป็นท่าตามแบบแผนดั้งเดิมไม่มีการปรับปรุงแก้ไขแต่อย่างใด
             ฟ้อนไต เป็นการฟ้อนรำที่ไม่จำกัดจำนวนคน อาจออกเป็นขบวนยาวได้ มีลีลาการรำที่ช้าคล้ายฟ้อนพื้นเมืองของล้านนา เนื่องจากเนื้อแท้การฟ้อนนี้ เป็นการฟ้อนเพื่อความสามัคคี จึงได้รับความสนใจมากจนกำลังจะได้รับการพัฒนาขึ้นในรูปของการรำแบบใหม่
            นอกจากการฟ้อนรำดังกล่าวมาแล้ว ยังมีการเล่นอื่น ๆ อีกหลายชนิด เช่น มองเซิง เป็นการเล่นแบบร้องโต้ตอบกันระหว่างหญิงกับชาย  มีการบรรเลงเพลงพื้นบ้าน โดยวงดนตรีพื้นเมือง ซึ่งใช้เพลงชื่อ หม่องส่วยยีเป็นเพลงที่มีทำนองพม่า และมีการเสนอแนะใหม่โดยผู้มีอำนายการวิทยาลัยนาฏศิลป์ นายธีรยุทธ ยวงศรี เพชรน้ำเอกของวงการนาฏศิลป์ โดยให้ใช้เพลงทำนองปานแซง ซึ่งเป็นเพลงไทยใหญ่แทน
           
การเล่นอื่น ๆ เช่น เฮ็ดความหมายความว่า การนั่งร้องเนื้อความที่โต้ตอบกัน เพียงแต่นั่งร้องอย่างเดียวส่วนการเล่น จ๊าดไตเป็นการแสดงแบบลิเก คล้ายละครซอผสมกับลิเกทางภาคกลาง ซึ่งทำให้การแสดงต่าง ๆ เป็นไปตามแบบอย่างที่เคยมีมาแต่สมัยก่อน ๆ อย่างสมบูรณ์มากขึ้น

การฟ้อนรำแบบปรับปรุงใหม่ คงจะไม่มีอะไรมากไปกว่าการกล่าวถึงประวัติของการพัฒนา ซึ่งกล่าวได้ว่า พระราชายาดารารัศมีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเอาท่วงที ลีลาแห่งการฟ้อนรำจากราชสำนักสยามขึ้นไปเผยแพร่ เป็นการจัดระเบียบและวางแบบแผนให้ถูกต้องตามหลักการแห่งนาฏศาสตร์ยิ่งขึ้นมีการฟ้อนต่าง ๆ ที่ใช้ลีลาที่งดงามยิ่งขึ้น แม้ว่าจะแปลกออกไปจากของดั้งเดิม แต่ก็เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า แบบใดเป็นของล้านนามาแต่ดั้งเดิม และแบบใดเป็นของที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ ดังต่อไปนี้





           ฟ้อนเล็บ แม้เป็นการฟ้อนตามแบบดั้งเดิมก็ตาม แต่กำหนดการแต่งกาย การประดับดอกไม้บนเรือนผมของผู้ฟ้อนรำซึ่งแตกต่างออกไปจากเดิมบ้าง ท่วงทีลีลาในการฟ้อนรำก็เชื่องช้า แสดงให้เห็นแบบอย่างของราชสำนักแห่งภาคกลาง และยังคงใช้วงดนตรีติ่งโนงอย่างเดิม ซึ่งได้มีการแสดง   อย่างมโหฬารในคราวรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพ และในการสมโภชช้างเผือกสมัยรัชกาลที่ ๗ เมื่อ พ.. ๒๕๗๐ มีการฟ้อนเล็บในกรุงเทพฯ ทำให้เกิดความชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง ตั้งแต่นั้นมาก็เป็นที่เลื่องลือกันทั่วไปถึงการฟ้อนเล็บของเมืองเหนือ

วีดิโอ ฟ้อนเล็บ






     

     ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา เป็นการประดิษฐ์ขึ้นจากฟ้อนกำเปอ แล้วใช้ปี่พาทย์เป็นดนตรีประกอบการฟ้อนรำมีอยู่ ๒ แบบ คือ แบบหนึ่งผู้ฟ้อนรำเป็นหญิงล้วน อีกแบบหนึ่งผู้ฟ้อนรำผสมกันระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย ได้จัดแสดงครั้งแรกเมื่อขึ้นตำหนักใหม่บนดอยสุเทพ



  
              วีดิโอ ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา


 

                 

6 ความคิดเห็น: