วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การแสดงพื้นบ้านภาคใต้

 


ภาคใต้ของประเทศไทยติดต่อกับประเทศมาเลเซีย  ซึ่งแต่ก่อนเรียกกันว่า มลายู         ชนพื้นเมืองในประเทศนั้นนับถือศาสนาอิสลาม ประกอบกับชาวไทยภาคใต้มีความใกล้ชิดกับประเทศใกล้เคียวมาก จึงมีสำเนียงในการพูดแตกต่างออกไปจากภาคอื่น ๆ แต่ก็มิได้หมายความว่าจะทำให้ความเป็นไทยลดลง กลับจะทำให้เกิดความสำนึกในความเป็นไทยมากขึ้น ในเมื่อต้องอยู่ร่วมกับสังคมของคนไทยที่นับถือศาสนาอื่น  ซึ่งก็มิได้เกิดปัญหาแต่อย่างใด ต่างก็อยู่อย่างสันติสุขมาตลอด การถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน เป็นไปอย่างเหมาะสมกลมกลืนยิ่ง
ศิลปะแห่งการฟ้อนรำ  ดนตรี  และการเล่นการแสดงต่าง ๆ ของภาคใต้  ก็จัดว่ามีเอกลักษณ์เด่นชัดเฉพาะของตัวเอง ความอ่อนช้อย กระฉับกระเฉง และแม่นยำ มั่นใจในการแสดงออกซึ่งศิลปะทางด้านนี้ ทำให้สะท้อนภาพของการดำเนินชีวิตซึ่งต้องต่อสู้ทั้งภัยธรรมชาติและอื่น ๆ ทำให้เกิดความแข็งแกร่งในชีวิตจนดูออกจะแข็งกร้าวแต่ไม่ดุร้าย ความอ่อนโยนทั่วไปจะซ่อนเร้นอยู่กับท่วงทีซึ่งจริงจัง ขึงขังและเฉียบขาด จาการขับร้องตามสำเนียงท้องถิ่น ทำให้ทราบได้ว่าเน้นในเรื่องของจังหวะแม้ว่าจะต้องใช้การเอื้อนตามทำนองที่มีทั้งยาวและสั้นก็ตามปฏิภาณในการเล่นเพลงบอก ซึ่งเป็นเพลงประเภทดำเนินคำกลอน ทำให้ซาบซึ้งถึงคุณธรรมและแนวจริยธรรมของคนในท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมีดังต่อไปนี้


โนรา 

หรือบางคนเรียกว่า มโนราห์ เป็นศิลปะการแสดงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคใต้ ลักษณะการเดินเรื่อง และรูปแบบของการแสดงคล้ายละครชาตรีที่นิยมเล่นกันแพร่หลายในภาคกลาง เดิมการแสดงโนราจะใช้เนื้อเรื่องจากวรรณคดีเรื่องพระสุธน-มโนราห์ โดยตัดตอนแต่ละตอน ตั้งแต่ต้นจนจบมาแสดง เช่น ตอนกินรีทั้งเจ็ดเล่นน้ำในสระ ตอนพรานบุญจับนางมโนราห์ ตอนพรานบุญจับนางมโนราห์ไปถวายพระสุธน ฯลฯ ปกติการแสดงโนราจะเริ่มจากนายโรงหรือโนราใหญ่ ซึ่งเป็นตัวเอกหรือหัวหน้าคณะออกมารำ “จับบทสิบสอง” คือ การรำเรื่องย่อต่าง ๆ สิบสองเรื่อง เช่น พระสุธน-มโนราห์ พระรถ-เมรี ลักษณวงศ์ เป็นต้น แต่หากผู้ว่าจ้างไปแสดงขอให้จับตอนใดให้จบเป็นเรื่องยาว ๆ ก็จะแสดงตามนั้น 
วีดีโอ มโนราห์








หนังตะลุง 

เป็นการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ที่มีมานานจนยังหาต้นตอดั้งเดิมไม่ได้ว่าเริ่มมาตั้งแต่ยุคใด สมัยใด คงมีการบันทึกไว้ในระยะหลังที่เป็นหลักฐาน แต่ก็ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยัน   ว่าเริ่มมีมาเมื่อใด เท่าที่มีการจดบันทึกได้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว            มีการนำหนังตะลุงจากภาคใต้มาแสดงถวายทอดพระเนตรที่พระราชวังบางปะอิน  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙
การแสดงหนังตะลุง แต่เดิมจะเล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น ต่อมาการติดต่อสื่อสารก้าวหน้าขึ้น เริ่มนำเรื่องในวรรณคดีต่าง ๆ มาแสดง  ปัจจุบันหนังตะลุงนำนวนิยายรักโศก เหตุการณ์บ้านเมืองปัจจุบันมาแสดง บางคณะก็แต่งบทเองแบบนวนิยาย มีพระเอก นางเอก ตัวโกง ตัวอิจฉา การเล่นหรือเชิดหนังตะลุงในช่วงหัวค่ำ ในสมัยก่อนจะเริ่มจากการออกลิงขาว ลิงดำ หรือที่เรียกว่าจับลิงหัวค่ำ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ไม่มีแล้ว
คณะหนังตะลุง ประกอบด้วย นายหนัง ๑ คน ซึ่งเป็นเจ้าของคณะเป็นผู้เชิดตัวหนัง พากย์และเจรจา ร้องรับและเล่นดนตรีด้วย ชื่อคณะมักใช้ชื่อของนายหนังเป็นชื่อคณะ เช่น หนังจูเลี่ยม  กิ่งทอง ลูกคู่ ๕-๖ คน
โรงหนังตะลุงจะปลูกเป็นเพิงหมาแหงน ฝาและหลังคามุงด้วยจากหรือทางมะพร้าว สูงจากพื้นดินราว ๑๕๐-๑๗๐ เซนติเมตร เป็นโรงสี่เหลี่ยม บันไดขึ้นด้านหลัง ใช้พื้นที่ราว ๘-๙ ตารางเมตร ด้านหน้าโรงจะมีจอผ้าขาวขอบสีน้ำเงินขึงเต็มหน้าโรง มีไฟส่องตัวหนังให้เกิดภาพหน้าจอ มีหยวกกล้วยทั้งต้นสำหรับปักตัวหนังวางอยู่ขอบล่างของจอด้านในลูกคู่และดนตรีจะนั่งอยู่ถัดจากนายโรง
ตัวหนัง ทำจากหนังวัวแกะและฉลุ ขนาดจะต่างกันไปตามบทบาทของหนัง เช่น รูปเจ้าเมือง รูปยักษ์ รูปฤาษีจะมีขนาดใหญ่กว่ารูปอื่น ๆ  คณะหนึ่ง ๆ จะมีตัวหนังราว ๑๕๐-๒๐๐ ตัว เวลาเก็บหนังจะแยกกันเก็บ เช่น ยักษ์ พระ นาง จะแยกกัน รูปฤาษี เทวดา ตัวตลกจะเก็บไว้บนสุด เก็บเป็นแผงซ้อน ๆ กัน มีไม้ไผ่สานเป็นเสื่อลำแพนหนีบอยู่ทั้งบนและล่าง และใช้เชือกผูก เก็บเป็นแผง ๆ
ดนตรีประกอบการแสดง ประกอบด้วยโหม่ง ๒ ใบ  ทับโนรา ๒ ใบ  กลองโนรา ๒ ใบ          ปี่ ๑ เลา    
ความยาวของการแสดงชุดนี้ ใช้เวลาประมาณ ๒-๖ ชั่วโมง




 วีดีโอ หนังตะลุง



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น